เตาอบไม้
เตาอบไม้ เตาอบของเราใช้อุณหภูมิความร้อนสูงสุดที่ 90-95 องศา (จุดเดือดน้ำอยู่ที่ 100 องศา)
ควบคุมการทำงานอัตโนมัติ ด้วยระบบไฟฟ้า โดยได้รับคำปรึกษา
จากผู้เชียวชาญ รศ.ทรงกลด จารุสมบัติ
คณะวนศาสตร์ ของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยตรง
เราใส่ใจในทุกขั้นตอนการอบไม้ เพื่อให้ได้ไม้ที่มีคุณภาพการใช้งานอย่างแท้จริง
ไม้สักใหม่ ต้องผ่านการอบแห้งให้ได้ความชื้นที่ 8-15 %
งานประตู ถ้าไม้ไม่แห้ง ประตูก็จะมีอาการเเตก โก่ง บิดงอได้ ซึ่งทางเราได้เเก้ไขปัญหานี้ได้
” เพราะเราอบไม้ใช้เอง เราจึงสามารถควบคุมมาตรฐานของไม้ได้เองเช่นกัน “
การทำงานของเตาอบไม้จะแยกเป็นสองส่วน
ส่วนที่ 1 ห้องเผา หรือห้องที่ให้พลังงานความร้อนก็จะเก็บพลังงานความร้อนไว้สำหรับระบบ เมื่อต้องการ
ส่วนที่ 2 ห้องอบไม้ ภายในก็จะมีพัดลมอยู่ 3 ตัว ขึ้นอยู่กับขนาดความกว้างของห้อง เพื่อพัดกระจายความร้อน ให้ทั่วถึง โดยเราจะต้องจัดเรียงไม้ให้ถูกต้องตามทิศทางลม ส่วนตู้ความคุมไฟฟ้าจะเป็นระบบอัตโนมัติ ทั้งหมด
การอบไม้ กับ การตากไม้ให้แห้ง แตกต่างกันมากกับไม้ที่มีความหนา
การตากไม้ จะแห้งแค่เฉพาะผิวภายนอกไม้เท่านั้น ถ้าวัดลงเนื้อไม้จะไม่ค่อยแห้ง
ส่วน การอบไม้ ที่ได้มาตรฐานนั้น ไม้จะแห้งทั่วถึงที่ตรงกลางเนื้อไม้
ซึ่งงานประตูจะใช้ค่าความชื้นไม่เกิน 8-15% ตามตารางการอบไม้
สามารถเช็ควัดผลการอบแห้ง ได้ด้วยเครื่องวัดความชื้นไม้ที่ได้มาตรฐาน
จาก U.S.A สั่งนำเข้ามาในราคา 35,××× บาท ด้วยกระบวนการ เเละ ขั้นตอนต่างๆ
ในการอบไม้ที่ละเอียดอ่อนนั้น ทำให้ต้นทุนในการอบไม้ให้ได้มาตรฐาน
ในเเต่ละครั้งมีต้นทุนค่อนข้างสูงเช่นกัน
เตาอบไม้ของโรงงานวู๊ดแพร่
ระยะเวลาในการอบไม้ขั้นต่ำ 10 วัน 10 คืนขึ้นอยู่กับความหนาของไม้ ซึ่งจะใช้ไม้ที่หนาสุดเป็นตัวกำหนดวัน
ขั้นตอนการจัดเรียงไม้ก่อนปิดอบ เพื่อให้ไม้สักได้รับความร้อนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
หลังจากจัดเรียงไม้เรียบร้อย ต้องมีไม้ตัวอย่างที่หนาที่สุด มาวัดค่าความชื้นไม้ก่อนอบ
ได้ค่ามาตั้งการอบไม้ตามตารางการอบแห้ง ของนักวิชาการ
จากตัวอย่าง ค่าที่วัดความชื้นได้จากไม้สักใหม่ ก่อนเข้าอบแห้ง
( ความชื้นช่วงที่ 32 – 45 % )
การวัดความชื้นของไม้ ด้วยเครื่อง RC – 1E
ขั้นตอนการอบไม้สัก ได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ภาควิชาวนผลิตภัณฑ์
รศ.ทรงกลด จารุสมบัติ ฟังคลิป คลิ๊กที่นี้คลิปงานไม้
คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ขั้นตอนการติดตามประเมินผลงานและให้คำแนะนำ
ประเมินผลงานการทดสอบวัดค่าความชื้นของไม้สักอบแห้ง หลังออกเตาอบแล้ว
เปรียบเทียบไม้ฝั่งซ้ายไม้สักใหม่อบแห้ง ฝังขวามีเครื่องวัดคือไม้สักเก่า
ค่าที่วัดความชื้นได้จากไม้สักใหม่อบแห้ง
( อ่านค่าที่ Range C สังเกตที่หมุนสีดำ ได้ค่าความชื้นช่วงที่ 6 – 11 % )
ความชื้นที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย
งานประตูจะอยู่ช่วง 8-15 % งานเฟอร์นิเจอร์ 8-12%
จากรูป ไม้สักใหม่ วัดได้ประมาณ 7.5 % ไม้สักเก่า ประมาณ 9%
การวัดความชื้นไม้ด้วยเครื่อง RC-1E
เครื่อง RC-1E ใช้วัดค่าความชื้นของไม้อบแห้ง
การปรับปุ่ม Selector Switch (ลูกบิดสีดำ) เพื่อเช็คค่าความชื้นตามระดับ
– บิดไปที่ Range A เมื่อต้องการอ่านค่าความชื้น ช่วงระหว่าง 25 – 60 %
– บิดไปที่ Range B เมื่อต้องการอ่านค่าความชื้น ช่วงระหว่าง 11 – 25 %
– บิดไปที่ Range C เมื่อต้องการอ่านค่าความชื้น ช่วงระหว่าง 6 – 11 %